ในปัจจุบันคนทุกคนต่างมีหน้าที่ในการรับผิดชอบชีวิตของตนเอง การหาเลี้ยงปากท้องของตนเองและคนในครอบครัว แน่นอนว่าการจะดำรงชีวิตอยู่ได้ในปัจจุบันคือต้องทำงานเพื่อปัจจัยหลักคือเงิน เพราะเงินนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการดำรงชีวิต ใช้ในการซื้ออาหาร ซื้อยา ซื้อที่อยู่อาศัย ซื้อความสะดวกสบาย แต่หากวันหนึ่ง งานที่เรากำลังทำอยู่มันไม่ใช่สิ่งที่เรารักหรือเราชื่นชอบอีกต่อไปล่ะ
ภาวะ “หมดไฟในการทำงาน” (Burnout Syndrome) คือ การที่เรามีความรู้สึก มีสภาวะอารมณ์เกี่ยวกับการทำงานในเชิงลบ ซึ่งความรู้สึกที่อาจเกิดขึ้นจะเป็นไปในทิศทางลบ เช่น ความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ มีความสัมพันธ์ในทางลบกับเพื่อนร่วมงานหรือผู้ร่วมทำธุรกิจ ลูกค้า รู้สึกว่าประสิทธิภาพในการทำงานลดลง หากมีความรู้สึกเหล่านี้ ให้คิดไว้ว่าคุณอาจจะกำลังประสบปัญหา ภาวะหมดไฟในการทำงานอยู่ค่ะ
ภาวะ “หมดไฟในการทำงาน” เกิดจากปัญหาหลายอย่างด้วยกัน เช่น อาจจะเกิดความผิดพลาดในการทำงาน ไม่ได้รับความยุติธรรม เกิดความเข้าใจผิดต่อการทำงาน ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ งานหนักหรือเร่งรัดมากเกินไป มีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีในที่ทำงาน ไม่มีเพื่อนคบ ซึ่งสาเหตุเหล่านี้มักทำให้เกิดอาการ ไม่อยากไปทำงาน ไม่อยากทำงานที่นี่แล้ว หรือเรียกว่า ภาวะหมดไฟในการทำงานนั่นแองค่ะ
อาชีพที่จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน ต้องบอกวว่าสามารถเกิดได้กับทุกอาชีพเลย ไม่ว่าจะเป็น พนักงานออฟฟิศ แม่บ้าน ผู้บริหาร นักธุรกิจ พ่อค้า แม่ค้า ทุก ๆ อาชีพเสี่ยงที่จะมีภาะนี้หมด เพราะหากเกิดการทำงานในรูปแบบเดิม ซ้ำ ๆ ทุกวันเช่น ต้องอยู่บ้านเลี้ยงลูก ล้างจาน ล้างขวดนม ทำงานบ้าน ทุก ๆ วันก็จะมีอาการเบื่อ รู้สึกอยากออกไปข้างนอก ไปทำงานพบปะผู้คนเป็นต้น
เมื่อเรามีความรู้สึกหมดไฟในการทำงานแล้วนั้น สิ่งที่จะตามมาคือ มีความเครียด ปวดศีรษะ ปวดตามร่างกาย ขาดงานบ่อย ไม่สามารถทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายดังเดิมได้ จนถึงการลาออกในที่สุด นอกจากนั้นยังส่งผลทางอารมณ์ได้ เช่นเมื่อมีความเครียดจากที่ทำงาน อาจจะดื่มสุรา ติดสุรา มีความเครียด มีปัญหาทางอารมณ์ เป็นโรคซึมเศร้า
(ภาพจาก pexels.com)
สิ่งที่เราจะสามารถทำได้หากเกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน นั่นก็คือ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ แยกระหว่างเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัว ศึกษาหรือปรึกษาบุคคลต่าง ๆ เพื่อจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงาน ทานอาหารให้ตรงเวลา ดื่มน้ำเยอะ ๆ หากิจกรรมอื่น ๆ ทำเพิ่มเติม เช่นดูหนัง ฟังเพลง เล่นกีฬา หรือสังสรรค์กับเพื่อนเพื่อผ่อนคลาย ปรับทัศนคติของตนเองให้เข้ากับสถานที่ทำงาน เพื่อนร่วมงาน และปรับเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อการทำงาน เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน ยอมรับความแตกต่าง ปรับตัว นอกจากนั้น การตั้งเป้าหมายในการทำงานก็เป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่จะทำให้เรามีกำลังใจมากขึ้นจากการทำงาน เช่น การติดรูปครอบครัวไว้ที่โต๊ะทำงาน การตั้งรูปหน้าจอ การตกแต่งโต๊ะทำงานให้เป็นในรูปแบบที่เราชื่นชอบ สามารถทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นได้
การเกิดภาวะหมดไฟในการทำงานเป็นเพียงสภาวะทางอารมณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้เพียงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งหากเราสามารถหาสาเหตุที่เกิดขึ้น แก้ไขและจัดการได้เราก็สามารถกลับมามีความสามารถและประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีได้เช่นเดิม การหมดไฟในการทำงานไม่ใช่อาการป่วยขั้นรุนแรงถึงขนาดที่ต้องไปพบแพทย์ เพียงแต่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างก็สามารถหายจากอาการนี้ได้ หรือ สร้างแรงบรรดาลใจในการทำงาน อาจจะหาแก้วน้ำ หรือกระบอกน้ำสักใบ สกรีนรูปครอบครัวลงไป เพื่อจะได้มีกำลังใจในการทำงานต่อไป
ขอบคุณภาพจาก pexels.com
บทความที่คุณอาจสนใจ
วิธีการหารายได้ ในช่วงโควิด-19
ดื่ม “กาแฟ” ช่วยป้องกันโรคได้ และประโยชน์อีกมากมาย